นายฐากร กล่าวต่อว่า กรณีที่ผู้ชนะการประมูลไม่ดำเนินการตามเงื่อนไขจะถูกริบหลักประกันการประมูล 3,783 ล้านบาท และชำระค่าเสียหายเพิ่มไม่น้อยกว่า 11,348 ล้านบาท นอกจากนั้น ผู้ผิดเงื่อนไข หรือผู้ที่มีความเกี่ยวโยงกันจะไม่สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมใดๆ ได้ต่อไป ส่วนรายได้ที่เกิดจากการประมูล กสทช.จะนำส่งเข้ารัฐทั้งหมด ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะค่าใช้จ่ายในการประมูล จำนวน 7.3 ล้านบาท กสทช.ต้องเก็บเงินจาก บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด
ทั้งนี้ หลังจากมีการประกาศรับรองผลอย่างเป็นทางการ เอไอเอส จะมีการแถลงข่าวต่อในเวลา 14.00 น.
***ด้านนักวิชาการชี้สภาพตลาดกลับสู่การแข่งขันด้านคุณภาพ
นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประเมินภาพการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคม ภายหลัง เอดับบลิวเอ็น ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ว่า หลังการประมูลคลื่น 900 MHz แล้วภาพการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมจะมีความเปลี่ยนแปลงไป
โดยภาพของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะแตกต่างจากที่เคยประเมินไว้เมื่อตอนต้นปี ผู้ให้บริการทุกรายจะมีคลื่นพร้อมในการแข่งขันอยู่ในมือที่ชัดเจน จะเห็นได้ว่าคลื่นความถี่ที่อยู่ในมือผู้ให้บริการจะมีความแตกต่างกันไม่เกิน 10 MHz การแข่งขันจึงยังคงเป็นการแข่งขันของผู้ให้บริการ 3 รายเดิม โดยจุดชี้ขาดการแข่งขันจะอยู่ที่คุณภาพเครือข่ายและความครอบคลุมในการให้บริการ
ในแง่ความเปลี่ยนแปลง เชื่อว่าส่วนแบ่งตลาดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก โดยเอไอเอส ที่ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งจะยังคงรักษาส่วนแบ่งไว้ได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่อันดับ 2 แล 3 มีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีคลื่นความถี่อยู่ในมือเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการมีพันธมิตรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ทั้งนี้ช่วงผ่านมา ทรู เริ่มมีการอัพเกรทและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายเพิ่มเติมในช่วงที่ผ่านมาจำนวนมาก จึงน่าจะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดและความได้เปรียบในการถือครองคลื่นความถี่นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาให้บริการ เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เองได้พยายามพัฒนาคุณภาพบริการ และขยายโครงข่ายเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้จะมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดอันดับสองให้ได้ต่อไป แม้ความร่วมมือที่ดีแทคจะร่วมกับพันธมิตร กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แต่ความร่วมมือระดับหลักการ ยังไม่มีความชัดเจนในบริการที่จะออกมา
“เชื่อว่าภายใน 1-2 ปี ต่อจากนี้การแข่งขันน่าจะมีความรุนแรง อันดับหนึ่งคงไม่เปลี่ยนแปลง ยิ่งเมื่อได้คลื่น 900 MHz ไปในวันนี้เท่ากับทำให้เอไอเอส มีอยู่ในมือไว้ครบ สำหรับดีแทคต้องดูระยะยาวว่าในอีก 3 ปี ดีแทคจะได้คลื่นผืนเดิมที่จะสิ้นสุดการถือครองในปี 2561 กลับมาหรือไม่ และต้องดูด้วยว่าถึงวันนั้นกสทช.จะเอาคลื่นออกมาให้ประมูลอย่างไร คลื่นใดบ้าง แต่ละคลื่นมีการแบ่งซอยเป็นกี่ใบอนุญาต ผู้เข้าประมูลแต่ละรายจะสามารถประมูลได้กี่ใบ ” นายสืบศักดิ์ กล่าว
เอไอเอส มั่นใจคลื่น 900 MHz จะมาติดปีกในการให้บริการ โดยจะสามารถให้บริการ 4G ได้ครอบคลุม 80% ภายในสิ้นปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะครอบคลุม 50% ทั้งนี้ ในช่วงแรกจะแบ่งคลื่น 900 MHz มาให้บริการ 2G เพื่อรองรับลูกค้าที่ยังใช้งานอยู่ จำนวน 5 MHz พร้อมระบุว่า จะชำระเงินภายในเดือนมิถุนายน 2559
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า ในเรื่องของราคาคลื่นที่ได้มาจากการประมูลในครั้งนี้ที่ 75,654 ล้านบาท ถือว่าต่ำกว่าราคาเคาะครั้งสุดท้ายของเอไอเอสที่ 75,976 ในการประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งแรก ดังนั้น จึงถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม และได้มีการคำนวณพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว
เมื่อได้คลื่น 900 MHz มาแล้ว จะนำไปใช้ใน 3 ส่วน คือ การทำธุรกิจให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ คลื่นความถี่ เมื่อได้มาเพิ่มก็ทำให้ธุรกิจมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ติดปีกที่จะบินไปได้ไกลกว่าเดิม ด้วยปัจจุบัน เอไอเอส มีคลื่นความถี่ 2100 MHz จำนวน 15 MHz 1800 MHz จำนวน 15 MHz และ 900 MHz จำนวน 10 MHz รวมเป็น 40 MHz
เอไอเอส มั่นใจ 900 MHz ช่วยติดปีกบริการ
โดยคลื่นความถี่ดังกล่าวจะเข้ามาเสริมบริการในยุคโมบายดาต้าความเป็นที่สุดของเอไอเอส ที่ยึดมั่นมาตลอด คือ ในแง่ของความเป็นเครือข่ายที่ดีที่สุด เป็นเครือข่ายที่แอปพลิเคชันดีที่สุด เป็นเครือข่ายที่บริการดีที่สุด และเป็นเครือข่ายที่มีคุณภาพที่สุด เมื่อเข้ามาเสริมให้ 4 แกนแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เครือข่ายที่ดีอยู่แล้วจะดียิ่งขึ้น เร็วอยู่แล้วจะเร็วยิ่งขึ้น ในแง่บริการก็จะสมาร์ทยิ่งขึ้น และที่สำคัญ เอไอเอสถือเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่อัปเกรดเทคโนโลยี 4.5G ทำให้สามารถเชื่อมต่อได้เร็วสูงสุดที่ 1 Gbps
ถัดมาคือ ในแง่ผู้ใช้บริการที่จะเข้ามาทำให้การใช้ชีวิตของคนไทยสะดวกสบาย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำคลื่น 900 MHz ที่มีความครอบคลุมมาให้บริการ ที่สำคัญคือ เข้ามายุติปัญหาในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่เกิดขึ้นเรื่องของการเยียวยาลูกค้าตั้งแต่ปลายปี 2558 ที่ผ่านมา
สุดท้ายคือ เป็นการช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เนื่องจากในอีก 5 ปีข้างหน้า โลกกำลังจะเข้าสู่ยุคดิจิตอล (Everything Digital) ด้วยการมาของ IoT (Internet of Things) เมื่อมีคลื่นที่ให้บริการพร้อมกับแพลตฟอร์มในการให้บริการที่เหมาะสมก็จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ
“การได้คลื่น 900 MHz มาจะช่วยติดปีก สร้างความแข็งแรง รวมถึงเข้ามาช่วยในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมที่จะรับอนาคต ถือเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาครัฐ และประเทศไทยได้ประโยชน์ ไม่นับรวมเงินจากการประมูลที่สามารถนำไปพัฒนาประเทศได้อย่างปัจจุบันทันด่วน แต่มองไปถึงระยะยาวในอีก 15 ปีข้างหน้า ที่เอไอเอสจะนำคลื่นดังกล่าวมาช่วยผลักดันประเทศของเราให้ก้าวไปข้างหน้า”
สำหรับแผนในการนำคลื่นมาให้บริการในช่วงแรกจะนำคลื่น 900 MHz มาให้บริการ 2G จำนวน 5 MHz เพื่อรับลูกค้าที่ยังมีการใช้งานอยู่ แต่ขณะเดียวกัน ก็มีการปรับแผนในการลงทุนจากสถานีฐานจากเดิมที่ลงเฉพาะ 2100 MHz และ 1800 MHz เป็นลงทุนในทั้ง 3 คลื่นแทน และคาดว่าจะให้บริการ 4G ได้ครอบคลุม 80% ภายในสิ้นปี จากเดิมที่วางไว้ 50% ขณะที่ปัจจุบันในเครือข่ายเอไอเอสมีอุปกรณ์ที่รองรับ 4G ปัจจุบันอยู่ที่ 7 ล้านเครื่อง และจะเพิ่มเป็น 10 ล้านเครื่องภายในสิ้นปี จากจำนวนลูกค้าทั้งหมดในปัจจุบันที่ 38.9 ล้านราย
“ในแง่ของปริมาณคลื่นความถี่ 900 MHz ในล็อตที่ 1 ซึ่งคาดว่าจะมีปัญหาในเรื่องการ์ดแบนก็สามารถใช้อุปกรณ์ Time Gap Filter เพื่อมาป้องกันไม่ให้ถูกรบกวนได้ เพียงแต่ต้องดูในจุดที่มีการรบกวนเพื่อแก้ปัญหาในแต่ละจุดไป ซึ่งยังคงใช้เงินลงทุนตามที่กำหนดไว้คือ 4 หมื่นล้านบาทในการขยายโครงข่าย”
ทั้งนี้ เอไอเอส ระบุว่า จะชำระค่าบริการภายในเดือนมิถุนายน ให้ได้ใบอนุญาตก่อน 30 มิถุนายน 2559 เพื่อไม่ให้กระทบต่อลูกค้า โดยจะเงินทุนจาก 2 แหล่ง คือ เงินหมุนเวียนจากการประกอบกิจการ และเงินที่กู้จาธนาคารพันธมิตร เนื่องจากงวดแรกชำระเพียง 8,040 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันทางการเงิน (แบงก์การันตี)
ส่วนความคืบหน้าการเซ็นสัญญาพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับทางบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการนำคลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz มีแนวโน้มที่ดี แต่ยังอยู่ในกระบวนการเนื่องจากทีโอทีเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้ต้องมีการทำตามกระบวนการเพื่อให้โปร่งใส และต้องเร่งให้จบเรื่องนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่ทีโอทีเองในแง่ของรายได้
หลังจากการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ได้สิ้นสุดลง และทางค่ายเอไอเอสวางแผนกันแบนด์วิทช์ไว้ 5MHz สำหรับรองรับอุปกรณ์เดิม 2G ทำให้อุปกรณ์จีพีเอสติดตามรถยนต์ทั้งหมดสามารถทำงานได้ต่อเนื่องยาวนานไปอีกร่วม 15 ปีราว ๆ ปี พ.ศ.2570 เลยทีเดียว รวมถึงอุปกรณ์เครื่องเอทีเอ็มตามสถานที่ต่าง ๆ มากมายไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่หมด ประหยัดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย สนใจอุปกรณ์จีพีเอสติดตามรถยนต์แวะไปเยี่ยมชมได้ที่
Thai GPS Tracker